
คนเรากินเยอะได้แค่ไหน แล้วทำไมแต่ละคนกินได้ไม่เท่ากัน
เคยสงสัยไหมว่าทำไมบางคนกินแค่ไหนก็ไม่อิ่ม?
ทุกคนรู้ดีว่าการกินเป็นกิจกรรมพื้นฐานที่ทำให้คนเรามีเรี่ยวแรงในการดำเนินชีวิต โดยพฤติกรรมการกินของแต่ละคนจะแตกต่างกันไป บางคนเน้นการกินเพื่อสุขภาพให้ร่างกายไม่อ้วน บางคนกินเพื่อเข้าสังคม หรือบางคนก็กินให้คุ้มกับเงินที่จ่ายไป แต่ทว่าพฤติกรรมทุกอย่างก็มักจะไปอยู่ตรงจุดสิ้นสุดที่เรียกว่า ‘ความอิ่ม’ นั่นเลยทำให้คนไม่น้อยสงสัยว่าทำไมคนแต่ละคนถึงกินอาหารได้ปริมาณไม่เท่ากัน บางคนกินไปนิดเดียวก็อิ่มแล้ว แต่กับบางคนถ้าไม่มีใครห้ามก็สามารถกินไปได้เรื่อย ๆ แบบไม่มีทีท่าว่าจะอิ่ม
ซึ่งเรื่องนี้ให้ทำความเข้าใจก่อนว่าร่างกายจะมีความรู้สึกที่เกี่ยวข้องกับการกินอยู่ 2 ความรู้สึก ได้แก่ ความรู้สึกหิวและความรู้สึกอิ่ม ส่วนปัจจัยเรื่องการกินได้มากหรือน้อยนั้นล้วนขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย แต่ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญที่สุด เรียกว่าความเคยชินในการรองรับปริมาณอาหารของกระเพาะ

ความเคยชินในการรับอาหาร เป็นยังไง?
ซึ่งพฤติกรรมการกินได้แบบเรื่อย ๆ ชนิดที่ว่าถึงขีดสุดได้ยาก มักเกิดขึ้นกับคนที่รับประทานอาหารปริมาณมากอย่างสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย จากนั้นกระเพาะก็จะขยายตัวจนเกิดเป็นความเคยชิน ทำให้กินจุและอิ่มช้า ซึ่งปกติแล้วกระเพาะของคนทั่วไปจะสามารถขยายได้ 10 – 14 เท่า และเพิ่มปริมาตรเป็น 500 – 2,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร เท่ากับจะจุอาหารเพิ่มขึ้นได้ 1 – 4 ลิตร แต่ในทางกลับกันคนที่กินน้อยมาก ๆ กระเพาะก็จะไม่ขยายตัวนั่นเอง
นอกจากนี้การทำกิจกรรมบางอย่างร่วมกันกับการกิน ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้กินได้อย่างต่อเนื่องเช่นกัน อาทิ การดูหนัง ซีรีส์ หรือภาพยนตร์ ก็จะทำให้เรากินได้มากกว่าปกติ เนื่องจากสติดันไปจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ตาดูมากกว่าการกิน ทำให้คุณกินได้เรื่อย ๆ จนลืมควบคุมความหิวความอิ่มนั่นเองค่ะ
แต่ทั้งนี้ก็มีคนไม่น้อยที่มีพฤติกรรมหิวบ่อยเพราะป่วยเป็นโรคบางอย่าง เช่น ผู้ป่วยไทรอยด์ หรือผู้ที่กินยารักษาอาการซึมเศร้า และคนบางกลุ่มที่ปล่อยให้ปากว่างไม่ได้ โดยอาการเหล่านี้เชื่อได้เลยว่าคุณไม่ได้เป็นคนเดียวแน่นอน
เหตุผลอะไรที่ทำให้คนเรากินจุได้อีก
นอกจากนี้พฤติกรรมโหยหาอาหารตลอดเวลา ยังเป็นผลพวงมาจากไลฟ์สไตล์บางอย่างที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับโรคหรือการฝึกกินบ่อย ๆ โดยเรื่องนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยังได้ระบุถึงปัจจัยที่ทำให้หลายคนกลายเป็นมนุษย์จอมเขมือบแบบชั่วขณะมาด้วย
เสพติดน้ำอัดลม
- ไม่ใช่แค่น้ำอัดลมเท่านั้นที่เป็นปัญหา แต่ยังหมายถึงเครื่องดื่มรสหวานต่าง ๆ ด้วย ซึ่งนั่นเป็นปัจจัยที่ทำให้เราหิวบ่อย กระตุ้นความอยากอาหาร และทำให้คุณกินเป็นเครื่องจักรกล
เสพติดภาพอาหาร
- การเห็นภาพอาหารที่ถูกใจแบบซ้ำแล้วซ้ำเล่า จะเป็นตัวกระตุ้ยความอยากอาหารชั้นดี ซึ่งเรื่องนี้หลายคนรู้ดี เพราะลำพังแค่นั่งอยู่เฉย ๆ ก็ไม่ได้รู้สึกอยากกินอะไร แต่พอไถมือถือเจอภาพอาหารเท่านั้นแหละหยุดกินไม่ได้ทันที
ดื่มน้ำน้อยเกินไป
- บางครั้งคนเราแยกไม่ออกว่าร่างกายหิวอาหารหรือกำลังขาดน้ำกันแน่ เพราะเมื่อคนเราหิวน้ำก็จะมีสัญญาณคล้าย ๆ กับอาการหิวอาหารนี่แหละ ดังนั้นดื่มน้ำให้ได้วันละ 2 ลิตร เพื่อลดความอยากอาหารและเพื่อสุขภาพที่ดี
อาหารเช้าไม่มีคุณภาพ
- เรื่องนี้เป็นผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ที่พบว่าคนที่กินอาหารเช้า 300 แคลอรี่ต่อวันมีแนวโน้มว่าน้ำหนักตัวจะเพิ่มง่ายกว่าคนที่กินอาหารเช้าไม่ต่ำกว่า 500 แคลอรี่ต่อวัน เพราะนั่นจะทำให้คุณรู้สึกอยากอาหารระหว่างวันน้อยลลง ไม่หิวโซก่อนถึงมื้อเที่ยงหรือเย็นนั่นเอง

นอกจากนี้ความเครียดสะสมจากการทำงาน การเรียน การเล่นพนันสมัครตรงไม่ผ่านเอเย่นต์ ก็ยังเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้คนเรารู้สึกหิวมากกว่าปกติได้ด้วย และแม้ว่าการกินจะเป็นกิจกรรมพื้นฐานของการดำเนินชีวิต แต่ทว่าก็จำเป็นต้องจำกัดปริมาณการกินให้ได้ เลือกของกินที่มีประโยชน์ และไม่ลืมที่จะออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย เพื่อให้ร่างกายของเราแข็งแรงและให้เกิดผลลัพธ์ทางบวกมากที่สุด
Comments (0)