June 9, 2023 1:14 am

โรคมะเร็งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม มรดกตระกูลที่คุณเสี่ยง

ทุกคนต่างรู้ดีว่ามะเร็งเป็นโรคร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับ 1 จากสถิติพบว่ามะเร็งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับเพศหญิงและเพศชาย ในอัตราส่วนที่เท่า ๆ กัน (แต่เพศชายมีความเสี่ยงกว่า) ดังนั้นมะเร็งจึงเป็นสิ่งที่คุณต้องเฝ้าระวังตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะมันมีปัจจัยหลายอย่างที่ก่อให้เกิดโรคร้ายนี้ได้ แต่รู้หรือไม่ว่าหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่ว่าคือ ‘พันธุกรรม’ ที่เป็นมรดก(ที่ไม่ได้)ของครอบครัว

คนไทยป่วยด้วยโรคมะเร็ง (รายใหม่) วันละไม่ต่ำกว่า 300 คน


ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าประเทศไทยมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ถึงวันละ 336 คน หรือประมาณ 122,757 คนต่อปี และเสียชีวิตเฉลี่ยวันละ 221 คน หรือ 80,665 คนต่อปี ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง จะมีทั้งปัจจัยภายนอก พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่มีมากถึง 95% ของการเป็นมะเร็งเลยก็ว่าได้ ทั้งการสูบบุหรี่ การดื่มสุรา ความเครียด การรับประทานอาหาร ไม่ออกกำลังกาย การติดเชื้อไวรัส ความอ้วน ฯลฯ

ที่เหลืออีก 5% คือความเสี่ยงมะเร็งจากพันธุกรรม ที่ถึงแม้ว่าจะเอาไปเทียบกับปัจจัยภายนอกแล้วดูน้อยมาก ๆ แต่ทว่าเป็นความเสี่ยง 5% ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่ามะเร็งที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษจะตกมาถึงเราเมื่อไหร่ ทราบได้อีกครั้งก็ตอนที่เกิดอาการหรือตรวจสุขภาพแล้วเจอโรคนั่นเอง

คนไทยป่วยด้วยโรคมะเร็ง (รายใหม่) วันละไม่ต่ำกว่า 300 คน
คนไทยป่วยด้วยโรคมะเร็ง (รายใหม่) วันละไม่ต่ำกว่า 300 คน

มะเร็งกับพันธุกรรมเกี่ยวข้องกันได้ยังไง

มะเร็งทางพันธุกรรม เกิดจากการถ่ายทอดยีนที่มีความผิดปกติ มาจากคนรุ่นพ่อรุ่นแม่สู่รุ่นลูก ที่สำคัญยังส่งต่อไปแบบเรื่อย ๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ในตัวของเราทุกคนจะแบ่งกลุ่มยีนออกเป็น 2 กลุ่มเพื่อทำหน้าที่ในการควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์ ได้แก่ BRCA1 และ BRCA2 ซึ่งหากยีนทั้ง 2 กลุ่มเจริญเติบโตแบบผิดปกติ หรือเกิดการผ่าเหล่า (Mutation) ก็จะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งชนิดต่าง ๆ ได้ อีกทั้งยังสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ด้วย *ประมาณ 5 – 10% ของการป่วยเป็นมะเร็งเต้านม และ 10 – 15% ของการป่วยเป็นมะเร็งรังไข่ ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นมาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม

สำหรับโรคมะเร็งทางพันธุกรรมที่พบได้บ่อย หรือ  Family of Cancer Syndrome จะมีดังนี้

  • โรคมะเร็งในสตรี เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ ฯลฯ ใน 80% ของผู้ป่วยที่มีประวัติทางครอบครัวเคยป่วยเป็นมะเร็งชนิดดังกล่าวมาก่อน จะมีโอกาสสูงมากขึ้น โดยส่วนใหญ่จะพบได้เมื่อมีอายุก่อน 50 ปี โดยประมาณ
  • โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ปัจจุบันพบว่าโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มีปัจจัยมาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมมากขึ้น
  • โรคมะเร็งในเด็ก โดยปกติแล้วผู้ป่วยมักมีความเสี่ยงในการเกิดโรคเมื่อมีอายุมากขึ้น แต่สำหรับมะเร็งในเด็กนั้นจะมีส่วนเกี่ยวข้องมาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมค่อนข้างมาก

ใครบ้างควรตรวจพันธุกรรมเพื่อป้องกันมะเร็ง?


การตรวจยีนพันธุกรรมสามารถดำเนินได้ด้วยการตรวจเลือด ซึ่งหากตรวจออกมาว่ายีนมีความผิดปกติ เราจะสามารถจัดการบางอย่าง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งในอนาคตได้ โดยกลุ่มคนที่ควรเข้ารับการตรวจ ได้แก่

  • กลุ่มที่ 1 : สำหรับผู้ป่วยที่ทราบอยู่แล้วว่าตัวเองเป็นมะเร็ง เป็นการตรวจเพื่อยืนยันว่ามะเร็งนั้นเกิดขึ้นมาจากพันธุกรรมจริง ๆ
  • กลุ่มที่ 2 : เป็นการตรวจเพื่อหาความเสี่ยงในกลุ่มคนที่สุขภาพแข็งแรงดี โดยการตรวจในลักษณะนี้ คนที่มาตรวจอาจเป็นมะเร็งหรือไม่เป็นก็ได้ แต่เป็นการตรวจเพื่อประเมินพันธุกรรมว่าเสี่ยงเป็นมะเร็งชนิดดังกล่าวข้างต้นหรือไม่
  • กลุ่มที่ 3 : กลุ่มคนที่ต้องการดูแลสุขภาพตัวเอง แม้จะไม่เคยมีประวัติและครอบครัวก็ไม่เคยมีเช่นกัน แต่ต้องการทราบว่าตัวเองมีโอกาสหรือมีกรรมพันธุ์ก่อมะเร็งซ่อนตัวอยู่ ก็สามารถตรวจได้
ใครบ้างควรตรวจพันธุกรรมเพื่อป้องกันมะเร็ง
ใครบ้างควรตรวจพันธุกรรมเพื่อป้องกันมะเร็ง

ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการป้องกันโรคมะเร็งที่เห็นผลแบบแน่ชัด ดังนั้นเราทุกคนคงทำได้เพียงแค่เฝ้าระวัง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หมั่นสำรวจความผิดปกติของร่างกายตัวเอง หรือเข้ารับการตรวจหามะเร็งในระยะแรกเริ่มเป็นประจำเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้มะเร็งลุกลามและสามารถแก้ไขได้ทัน

ที่สำคัญควรจะใส่ใขสุขภาพ เลือกทำประกันมะเร็งเอาไว้ เผื่อในอนาคตหากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นมาจริง ๆ จะได้รู้สึกอุ่นใจและช่วยให้ลดค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาลลงได้ ไม่เป็นกังวล

Comments (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *